เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเอง นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขา หลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูก และได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ เกษตรกรภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้ผักตามป่าเขา และผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่
อาหารที่คนภาคเหนือนิยมใช้กินแนม หรือกินเคียงกับอย่างอื่น
คือการนำหนังควายมาเผาไฟ แล้วแช่น้ำขูดเอาส่วนที่ดำ ๆ ออก ตัดส่วนที่แข็งทิ้ง ตากแดดให้แห้ง นำแผ่นหนังไปปิ้งไฟพอให้อ่อนตัว ใช้มีดตัดเป็นเส้น แต่ไม่ให้ขาดจากกัน นำไปต้ม 3 วัน โดยใช้ไฟอ่อน ๆ จนมีสีเหลือง ๆ เก็บไว้รับประทานได้นาน เมื่อจะรับประทาน ให้ทอดไฟหลางหนังจะพอง ถ้าไฟแรงหนังจะไหม้ ถ้าไฟอ่อนหนังจะไม่พอง
น้ำหนัง คือเอาหนังควายเผาไฟจนไหม้ดำ แช่น้ำในโอ่ง แล้วขูดส่วนที่ไหม้ออก นำไปต้มในปี๊บโดยขัดแตะปากปี๊บไว้ หนังจะได้ไม่ลอยขึ้นมา ต้มไปจนหนังละลายเป็นน้ำข้น ๆ ยกลง กรองด้วยกระชอนไม้ไผ่ นำไปละเลงบาง ๆ บนกาบไม้ไผ่ หรือจะผสมงาก่อนละเลงก็ได้ นำไปผึ่งในร่ม พอแห้งลอกเก็บ รับประทานกับแกง โดยปิ้งไฟอ่อน ๆ
ไข่มดส้ม 
คือการเอาไข่มดแดงไปดองกับเกลือ แล้วจึงนำมายำหรือแกง การดองไข่มดส้มจะดองโดยใช้ไข่มด 1 ถ้วย ดองกับเกลือ 2 ช้อนชา เค็มจัด พริกป่นใช้กับอาหารทุกชนิด
ผักในธรรมชาติภาคเหนือ
ผักขี้หูด
ลักษณะของผักจะเป็นฝัก ขึ้นเป็นช่อ ฝักเล็กขนาด 1/2 ซม. ยาว 7-8 ซม. ดอกสีม่วงสวย กินสดโดยจิ้มกับน้ำพริก น้ำผักหรือ ต้ม นึ่งกินกับน้ำพริกอ่อง ผักขี้หูดเป็นผักฤดูหนาว ใบคล้ายใบผักกาด จะใช้เฉพาะส่วนที่เป็นฝัก รสเผ็ดเล็กน้อย แต่ถ้าต้มสุกแล้วจะหวาน
ผักคาวตอง

ใบคล้ายใบพลู แต่ใบสั้นกว่า สีเขียวออกขาว กลิ่นหอมฉุน ใช้กินกับลาบ
หอมด่วน คือใบสะระแหน่ ใช้รับประทานกับลาบ และตำมะเขือ
หอมป้อม

คือผักชี อาหารภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมโรยด้วย ผักชีหั่นฝอย
ยี่หร่า
ลักษณะใบฝอย สีเขียวเข้ม ใช้จิ้มน้ำพริกน้ำผัก น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง และใส่แกง
หยวกกล้วย
จะใช้หยวกกล้วยป่า โดยใช้แกนในมาทำแกงหรือต้มจิ้มน้ำพริก
บ่าค้อนก้อม
คือมะรุม ใช้แกงส้ม
บ่าริดไม้ 
คือลิ้นหมา ลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 10-15 นิ้ว ฝักจะมีลักษณะแบน กว้าง 3 นิ้ว ต้มให้นุ่มใช้จิ้มน้ำพริก มีรสขมเป็นยาระบาย มีสีเขียวขี้ม้า
บ่าหนุน

จะใช้ขนุนอ่อน โดยเด็ดเอาขนุนที่ออกลูกมากเกินไปและจำเป็นต้องเด็ดออกเสียบ้างเพื่อจะได้ไม่แย่งอาหารกันมากนัก ขนุนอ่อนนี้ใช้ทำแกง หรือต้มจิ้มน้ำพริก
ดอกงิ้ว

คือดอกนุ่นพันธุ์พื้นเมือง
พริกหนุ่ม

เป็นพริกทางเหนือ มีลักษณะยาวเรียว พริกหนุ่มสดจะมีสีเขียวอมเหลือง
ดอกลิงแลว

เป็นดอกเล็ก ๆ สีม่วง มีลักษณะคล้ายกล้วยไม้ที่เพิ่งแตกดอก คือเป็นปุ่มเล็ก ๆ ปลายดอกเรียว โคนใหญ่ ตัวดอกนุ่มลักษณะใบจะยาวคล้ายใบหมาก มีรสหวาน ใช้ทำแกงแค หรือแกงเลียง
ตูน

คือคูน ต้นคล้ายต้นบอน แต่เปลือกสีเขียวนวลไม่คันเมื่อมือถูกยางตูน เนื้อตูนสีขาว เนื้อฟ่าม กินสดได้ โดยกินกับตำส้มโอ ตำมะม่วง
ผักหระ

คือชะอม กินได้ทั้งสดและทำให้สุก นิยมกินกับตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือใส่แกง เช่น แกงแค เป็นต้น
ผักหนอก คือใบบัวบก กินสดกับน้ำพริกหรือแนม หรือกินแกล้มกับยำต่าง ๆ
หัวปี๋ (ปลี)
คือหัวปลี กินได้ทั้งสดและทำให้สุก เช่น กินสดจิ้มกับน้ำพริกอ่อง ทำสุก เช่น ใช้แกงกับปลาย่าง ต้มสุกจิ้มน้ำพริก ปลีกล้วยที่นิยมกินกัน คือ ปลีกล้วยน้ำว้า กับปลีกล้วยป่า
ดอกแก (ดอกแค)
- ดอกแคที่นิยมกินกันมีสองสี คือแคขาวกับแคแดง ใช้ทำแกง หรือต้มจิ้มน้ำพริก ยอดแคก็กินได้
หน่อไม้ไร่

มีลักษณะเล็กยาว มีรสขื่นและขม นิยมเอามาทำเป็นหน่อไม้ปีบ นอกจากจะเก็บได้นานแล้ว ยังทำให้รสขื่นและขมของหน่อไม้คลายลง หน่อไม้ไร่ปีบนิยมทำหน่ออั่ว ยำหน่อไม้และผัด
มะเขือส้ม
คือมะเขือลูกเล็ก ๆ ที่ติดกันเป็นพวง มีรสเปรี้ยวอมหวานนิด ๆ
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social03/18/2/conte... ภาพจากอินเตอร์เน็ต