Dogstar ชวนไปดูงานปอยส่างลอง ที่วัดป่าเป้าเชียงใหม่
ที่วัดป่าเป้ามีปูนปั้นสวยๆหลายชิ้นค่ะแปลกและงดงามอ่อนช้อย
หอไตรแบบหลังคาหลายชั้น มีลายฉลุ
ตึกนี้เป็นพิพิทธภัณท์ของวัด มีพระและไม้แกะสลักงามๆหลายชิ้น
กระเบื้องปูพื้นก็งามมาก ที่นี่ด็อกสตาร์เจอรูปภาพพระฉายาลักษณ์
ของพระเจ้าอยู่หัว พระราชินีและ รัชกาลที่ห้า ด้วย ได้พูดกับคนเฝ้า
เขาบอกว่าคนไทยโชคดีที่มีในหลวงกับสมเด็จพระเทพฯ
ถ้าคนไทใหญ่มีแบบนี้รับรองว่าเขาไม่ต้องพลัดที่อยุ่ มาทำมาหา
กินใกลบ้านเหมือนปัจจุบันนี้
กรอบรูปนี้เจอในโรงเรียนของวัดป่าเป้าค่ะ
ร้อนนักพักเหนื่อยก่อน นานๆเจอกันทีขอเม้าท์หน่อย
ระหว่างรอพิธีก็พักทานอาหารกันค่ะ ตอนนี้ลูกแก้วไปรวมกันเป็นหมู่แล้ว
อากาศร้อนมากค่ะชวนให้น่าเบื่อหน่าย จะอยู่เฉยๆก็กลุ้มใจค่ะ
(กลุ้มใจปนขี้เกียจ)เลยชวนเพื่อนรุ่นน้องไปดูงานบวชของ
ชนชาวไทยใหญ่ในเชียงใหม่กัน งานนี้จัดที่วัดป่าเป้าซึ่ง
ตั้งอยู่ริมคูเมืองตรงที่เล่นน้ำสงกรานต์กันเยอะๆนั่นแหละ
วัดป่าเป้านี่เป็นที่นัดหมายของชนชาวไทใหญ่ ในเชียงใหม่และ
จังหวัดไกล้เคียงในภาคเหนือเวลามีงานที ชาวไทใหญ่ที่มา
ทำงานที่นี่จะมากันมาก,kpยิ่งงานปอยส่างลองหรืองานบวชเณร
ยิ่งจะมีคนมากันเยอะแยะไปหมดมาพบปะเพื่อนฝูงมาพบญาติๆ
มาพูดมาคุย มาส่งของ มาส่งข่าวคราวกลับไปทางบ้าน
มาฝากเงินฝากของกลับบ้านที่ชายแดนไทย-พม่าหรือใน
เขตรัฐฉานของพม่าบางคนที่ด็อกสตาร์เห็นมาคนเดียว
ยืนเหม่อลอย คงจะคิดถึงบ้านแต่ขอให้มาอยู่ในงาน
ร่วมอยู่ในบรรยากาศของเพื่อนร่วมชาติที่พูดภาษาเดียวกัน
ก็คงจะคลายความคิดถึงบ้านไปได้บ้างทุกคนที่มาร่วมงาน
จะแต่งตัวกันสวยที่สุด ใช้เสื้อผ้าใหม่เอี่ยมบ้างก็แต่งตัวแบบ
ทันสมัยมีกระเป๋ารองเท้าส้นสูง กระเป๋าสะพายสวมแว่นตาดำ
แต่ที่แน่ๆยังไมีมีคือเสื้อยืดสายเดี๋ยว
กางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น วัยรุ่นหรือหนุ่มสาวไทใหญ่
ที่มาทำงานในเชียงใหม่ยังเข้าวัดทำบุญทำทานกันอยู่
พระเณร คนขายของหน้าวัดที่นี่ก็เป็นไทใหญ่ทั้งนั้น
มีของขายเยอะแยะ เสื้อผ้าอาหารเต็มไปหมด
เรื่องงานปอยส่างลองนี่มีตำนานค่ะ(คัดมาจากวิกิพีเดีย)
มาอ่านกันเลย
ตำนานนี้นั้นกล่าวไว้ว่า การเป็นส่างลองนั้นเป็นการเลียนแบบ
ประวัติของพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะครองกรุงกบิลพัสดุ์
ก่อนจะออกผนวช การกระทำทุกอย่างในช่วงเวลาการเป็นส่างลอง
จะปฏิบัติเสมือนการปฏิบัติต่อพระ มหากษัตริย์นั่นเอง
ปอยส่างลองหรืองานบวชลูกแก้วนั้นเป็นพิธีการเฉลิมฉลอง
ของการบรรพชาสามเณร ในศาสนาพุทธซึ่งปกติจะมีการจัดงานอยู่
ประมาณสามวัน แต่หากผู้ที่ทำการบวชนั้นมีฐานะดีก็จะมีการฉลองยาว
นานเป็น 5 หรือ 7วันได้ ซึ่งงานดังกล่าวนี้จะนิยมจัดขึ้นในช่วงปลาย
เดือนมีนาคม หรือเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่
ว่างเว้นจากการทำนา ทำไร่และเป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของ
เด็กๆด้วย โดยประเพณีปอยส่างลองนี้เป็นประเพณีของคนไทยซึ่งมีเชื้อสาย
เป็นชาวไทใหญ่เราจึงจะพบเห็นประเพณีนี้กันมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
และในบางส่วนของภาคเหนือ รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่
ลูกแก้วกำลังแต่งตัว
ในการบรรพชาเป็นสามเณรนั้นก็เพื่อศึกษาพุทธธรรมและเพื่อ
เป็นการทดแทนคุณ บิดามารดา เหมือนอย่างที่พระราหุลซึ่งเป็น
พระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ(พระพุทธเจ้า)กับพระนางยโสธรา
(พิมพา)บวชเป็นสามเณรองค์แรก ในพุทธศาสนา ก็เพื่อดำเนินรอย
ตามคำสั่งสอนของพระบิดา พระราหุลท่านเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาธรรมวินัย
จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ก่อนที่จะถึงวันประเพณีปอยส่างลองหนึ่งวันเด็กชายผู้ชาย
เข้าร่วมประเพณีนี้จะต้องปลงผมและอาบน้ำให้สะอาดที่สุดและ
รอจนเบื่อดีที่ได้ของขวัญ เด็กน้อยสวมเสื้อใหม่รองานเริ่ม
นี่ก็รอจนหลับ
รอจนหลับเหมือนกัน พวกญาติจะมาก่อนวันพิธีค่ะ มากินมานอนที่วัดเลย
เจิมด้วยน้ำหอมเพื่อให้มีกลิ่นหอม แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าเครื่องประดับ
ต่างๆอย่างอลังการ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ใส่เครื่องประดับที่เป็นของจริง
โดยมากจะเป็นเพชร พลอย และทองที่ทำขึ้นมาเหมือนจริงเท่านั้น
ทั้งนี้ก็เพราะกลัวของมีค่าสูญหายระหว่างการแห่ส่างลอง
แต่ก็มีบางคนที่มีฐานะให้ลูกหลานใส่ของจริงก็มี นอกจากนั้น
ก็ยังมีการแต่งหน้าแต่งตาด้วยสีสันที่จัดจ้าน
ให้ส่างลอง(ลูกแก้ว) ดูสวยงามมีสง่าราศีเหนือคนทั่วไป
พวกลูกแก้วขี่ม้า ของใครของมัน
หล่อที่สุดก็วันนี้
วันแรกของปอยส่างลอง หรือชาวบ้านจะเรียกกันว่า"วันเอาส่างลอง"
จะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วซึ่งลูกแก้วก็จะมีการแต่งกายอย่างสวยงามเปรียบ
เหมือนกับเทวดาตัวน้อยๆ แห่ไปรอบๆเมืองตามถนนหนทางต่างๆ ซึ่งใน
ขบวนแห่ก็จะประกอบไปด้วยเสียงดนตรีอันแสดงถึงความสนุกสนาน
รื่นเริงจาก เครื่องดนตรีของไทใหญ่ ได้แก่ มองเซิง (ฆ้องชุด) ฉาบ และ
กลองมองเซิง (กลองสองหน้า)
ในอดีตนั้นการแห่ลูกแก้วไปรอบๆเมืองจะให้ลูกแก้วขี่ม้าแต่ปัจจุบันก็
ม้าหายากค่ะ จะมีแต่ม้าแข่งซี่งเป้นม้าเทศหรือม้าพันธ์ผสมตัวสูงใหญ่
ราคาแพงไม่มีใครยอมเอามาให้ลูกแก้วขี่อย่างแน่นอน(สมัยก่อนลูกแก้วขี่ม้าแล้วต้องสวมแว่นตาดำด้วย) ในสมัยปัจจุบันก็จึงแห่ลูกแก้วโดยการให้นั่งเก้าอี้แล้ว
นำไปใส่หลังรถยนต์ แห่ไปรอบเมืองแทน ในขบวนแห่ลูกแก้ว
ลูกแก้วแต่ละคนก็จะมีผู้ติดตามซึ่งก็อาจเป็นพ่อ หรือญาติพี่น้องที่เป็นผู้ชาย
เพราะลูกแก้วนั่นเขาเปรียบเสมือนเป็นเทวดาต้องใส่ถุงเท้าสีขาวตลอดทั้ง3วัน
ที่จัดงาน และห้ามไม่ให้ลูกแก้วได้เหยียบพื้น ดังนั้นเวลาจะไปที่ใด
ก็ต้องมีคนคอยแบก(ม้าขี่) หรือนำขี่คอไปยังที่ต่างๆ และก็ต้องมีอีกคนหนึ่ง
ทำหน้าที่กางร่มที่มียอดสูงประดับทองกันแดดให้ไม่ให้ ลูกแก้วต้องโดนแดดเผา
นอกจากนี้ยังมีคนที่ต้องดูแลเพชรพลอยของมีค่าต่าง ๆ
ที่ลูกแก้วสวมใส่อยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันการตกหล่นหรือโดนลักขโมย
จากนั้นเมื่อขบวนแห่รอบเมืองเสร็จสิ้น ก็จะเป็นขบวนแห่ลูกแก้วเหล่านั้นไป
เยี่ยมญาติ ๆที่บ้าน หรือบางทีอาจเป็นผู้สูงอายุ ผู้อาวุโส และบุคคลสำคัญๆในชุมชน เพื่อไปทำแสดงความเคารพนับถือและรับศีลรับพร จากนั้นญาติ ๆและผู้สูงอายุก็จะใช้ด้ายสีขาวผูกข้อมือให้ลูกแก้วทุกคนเพื่อป้องกันวิญญาณ
ชั่วร้ายต่าง ๆ และบางทีก็จะให้ของกำนัลแก่ลูกแก้วบางคนอาจให้เป็น
เงิน บางคนให้ขนม เป็นต้น
วันที่สองหรือ "วันรับแขก"ก็จะมีขบวนแห่คล้ายๆกันกับวันแรกแต่
ในวันที่สองนี้ในขบวนแห่จะประกอบด้วย เครื่องสักการะ ธูปเทียนต่างๆ เพื่อถวาย
พระพุทธ และเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ ในช่วงเย็น หลังจากที่ลูกแก้ว
รับประทานอาหารแล้วเสร็จ ก็จะมีพิธีทำขวัญและการสวดคำขวัญ เพื่อเตรียมตัว
ให้ลูกแก้วซึ่งจะเข้ารับการบรรพชาในวันรุ่งขึ้น โดยผู้นำในการประกอบพิธี
จะเป็นผู้อาวุโสที่ศรัทธาวัดทุกคนให้ความเคารพ นับถือ
วันสุดท้าย คือ "วันบวช" พิธีของวันนี้จะเริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปยังวัด
พอถึงวัด ลูกแก้วทั้งหมดก็จะกล่าวขออนุญาตเพื่อทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่
เมื่อท่านได้อนุญาต ลูกแก้วก็จะพร้อมกันกล่าวคำปฏิญาณตน และอาราธนาศีล
แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดเสื้อผ้าส่างลองที่สวยงามมาเป็นผ้ากาสาว
พัตร์สีเหลือง และเป็นก็สามเณรอย่างสมบูรณ์ โดยอาจจะอยู่หลายเดือน
เพราะว่าเป็นช่วงปิดเทอมหรืออยู่ 2-3 อาทิตย์ก็ได้/