-
อูนป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sambucus javanica Rehd., วงศ์ Caprifoliaceae
ชื่ออื่นๆ : จีนฮ่อเรียก ตุ้มใจ้เมียะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๒ - ๓ เมตร ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปปลายหอก ขนาด ๓ - ๖ x ๑๐ - ๑๖ เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ละเอียด ปลายใบแหลม ก้านใบยาว ๕ - ๑๕ เซนติเมตร ดอกเป็นช่อเกิดที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาด ๐.๓ – ๐.๕ เซนติเมตร สีขาว ผล รูปร่างกลมแบน ขนาด ๐.๓ – ๐.๔ เซนติเมตร เมื่อสุกสีส้มแดง
แหล่งที่พบ : พบในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำในป่าดิบเขา ความสูงตั้งแต่ ๑,๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ออกดอกเดือนกันยายน - ตุลาคม ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
การนำมาใช้ของชาวเขา : จีนฮ่อ ใช้ต้นและรากต้มอาบ หรือดื่มแก้อาการชา ลมพิษ ปวดตามลำตัว ปวดข้อ ปวดเอ็น
http://www.firstroyalfactory.org/main.php?m=wiki&keyword=%CD%D9...
ฝิ่น
ฝิ่น (opium) เป็นยาเสพติดพวกเดียวกับมอร์ฟีนและเฮโรอีน โดยฝิ่นได้มาจากน้ำยางของผลฝิ่น เมื่อนำมาสกัดจะได้มอร์ฟีน และสังเคราะห์เป็นเฮโรอีนได้ ฝิ่นเป็นพืชไม้ล้มลุก มีอายุ ๑ ปี มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Papaver somniferum และ Papaver bracteatum ฝิ่นมีลำต้นสูงประมาณ ๒ – ๔ ฟุต ดอกฝิ่นจะมีสีขาว สีแดง สีม่วง และสีม่วงแดง ดอกจะชูอยู่ปลายสุด มีกลีบรองรับดอก ๒ กลีบ กลีบดอก ๔ กลีบ จัดอยู่ตรงข้ามกัน ในผลฝิ่นจะมีเมล็ดฝิ่นสีเทาอยู่ และฝิ่นนั้นมีหลายพันธุ์ด้วยกัน
ฝิ่นเป็นพืชที่ต้องการการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ต้องมีการพรวนดินให้ร่วนแล้วจึงหว่านเมล็ดฝิ่นปนกับเมล็ดผักกาดและพันธุ์พืช อื่นๆ แล้วจึงกลบหน้าดินเบาๆ ด้วยมือ ต้นฝิ่นที่ขึ้นหนาเกินไปนั้นต้องถูกถอนทิ้งให้แต่ละต้นห่างกัน ๘ นิ้ว และไร่ฝิ่นต้องได้รับการดายหญ้า ก่อนผลฝิ่นจะสุกพอที่จะกรีดยางได้ ซึ่งการกรีดยางนั้นชาวเขาใช้ มีดพิเศษที่มีทางคม ๓ - ๕ ใบด้วยกัน ผลฝิ่นจะถูกกรีดเป็นทางตรง ยางฝิ่นจะมีลักษณะเป็นสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมาตามรอยกรีด เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียกว่า 'ฝิ่นดิบ' ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ เรียกว่า “ฝิ่นสุก” ได้มาจากนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยาง และกรดอินทรีย์ เป็นอัลคาลอยด์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรง โดยอัลคาลอยด์ในฝิ่นแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๑) ประเภทที่ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง สารออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน
๒) ประเภทที่ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคลายตัว โดยมีปาปาเวอร์รีน (papaverine) เป็นตัวสำคัญ
เมื่อประมาณ ๓,๔๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ฝิ่นเดินทางมาจากพื้นที่ตอนล่างของอาณาจักรเมโสโปเตเมียโดยชนเผ่าซูเมเรียน พวกเขาเรียกฝิ่นว่า “ฮัลกิล” หมายถึง พืชแห่งความรื่นรมย์ และเชื่อกันว่าชนเผ่านี้ได้ถ่ายทอดวิธีการปลูกฝิ่นและความรู้สึกเป็นสุขจาก การเสพฝิ่นให้แก่ชาวอัสซีเรียน ต่อมาศิลปะการเพาะปลูกฝิ่นถูกถ่ายทอดไปสู่ชาวบาบิโลเนียน ชาวยิว ชาวโรมัน และชาวอียิปต์ ก่อนที่ฝิ่นจะเดินทางข้ามทะเลเมดิเตอเรเนียนไปยังกรีซ แอฟริกา และยุโรป ก่อนจะเดินทางผ่านมายังทวีปเอเชียโดยผ่านเปอร์เชีย และอินเดีย พร้อมกับกองทัพของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ยกทัพเข้ามารุกรานทวีป เอเชียด้วยเส้นทางสายไหม (Silk Road) เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีก่อนคริสตกาล
นอกจากเส้นทางนี้ ฝิ่นยังได้เดินทางจากเปอร์เซียไปสู่ประเทศจีนกับนักค้าฝิ่นชาวอาหรับ โดยชาวจีนใช้ฝิ่นเป็นยารักษาโรคท้องร่วงซึ่งได้ผลดีมาก ต่อมาใน ค.ศ. ๑๖๒๐ มีผู้นำยาสูบจากฟิลิปปินส์เข้าจีน ทำให้ชาวจีนเป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้ยาสูบผสมฝิ่นโดยเชื่อว่าสามารถป้องกัน โรคมาเลเรียได้ และในศตวรรษที่ ๑๗ ชาวดัชท์เป็นผู้ลำเลียงฝิ่นทางเรือจากอินเดียไปยังจีนและหมู่เกาะต่างๆ ในเขตประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์สงครามฝิ่นถึงสองครั้งใน ค.ศ. ๑๘๓๙- ๑๘๔๒ และใน ค.ศ. ๑๘๓๖ ซึ่งผลจากการทำสงครามฝิ่นระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสกับจีนนั้น จีนแพ้สงครามต้องจ่ายเงินชดใช้ ทำให้การนำเข้าฝิ่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้การปลูกฝิ่นและผลผลิตฝิ่นเพิ่มขึ้นในเขตประเทศจีนตอนใต้ และเริ่มกระจายไปพื้นที่สูงของประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกฝิ่นที่มี ผลกำไรสูงสุด และฝิ่นมีคุณภาพดีที่สุดของโลก ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อปัญหายาเสพติดในประเทศไทยเป็นอย่าง มาก
ฝิ่นนอกจากจะเป็นสารเสพติดแล้ว ยังเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางเภสัชที่มีประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมากอีกด้วย และสำหรับชาวเขาซึ่งเป็นผู้ผูกพันกับฝิ่นมานานจึงทำให้บทบาทของฝิ่นนั้น กลมกลืนเป็นวัฒนธรรมและองค์ประกอบสำคัญในวิถีชีวิตของพวกเขา ดังนี้
๑) บทบาททางด้านเศรษฐกิจ พบว่าฝิ่นมีบทบาทอย่างกว้างขวางในเชิงเศรษฐกิจของชาวเขาทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน ได้แก่ เป็นพืชเงินสด (เนื่องจากเป็นแหล่งรายได้หลักของชาวเขาที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำรงชีพ), ใช้แทนเงินตรา, เป็นปัจจัยในการผลิต เช่น ค่าจ้างแรงงาน, ฝิ่นสามารถคิดเป็นดอกเบี้ยการกู้ยืมเช่นเดียวกับเงิน, ใช้ฝิ่นประกอบอาหาร, เมล็ดฝิ่นใช้สกัดน้ำมันหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ และสามารถขายได้ เป็นต้น
๒) บทบาททางด้านสังคม ประเพณี และพิธีกรรม บทบาทด้านนี้เป็นบทบาทที่มีความสัมพันธ์กับชาวเขาอย่างแนบแน่น ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างทางสังคมของชาวเขา ได้แก่ ใช้เป็นค่าสินสอด, ค่าปรับไหม, เครื่องขอขมา, ค่าบริการในการตัดสินคดี, ค่าป่วยแก่หมอผี, ใช้บวงสรวงผีป่าในการล่าสัตว์, ใช้เซ่นผี, ใช้ในพิธีแต่งงาน, แสดงความมั่งคั่ง, ยาเสพติด (ในสังคมจะไม่ประณามถ้าไม่ติดจนเกินไปหากยังสามารถทำงานได้)
๓) บทบาททางเภสัชพื้นบ้าน จากคุณสมบัติทางยาของฝิ่น ทำให้ฝิ่นกลายมาเป็นยากลางบ้านที่ทรงคุณค่าของชาวเขาที่อาศัยอยู่ห่างไกลการ คมนาคม ชาวเขาได้ ใช้ฝิ่นเชิงเภสัชดังนี้ ได้แก่ สามารถใช้ห้ามเลือดรักษาแผล เ ป็นยาลดไข้และยาแก้ปวด แก้ท้องเสีย ใช้ถอนพิษ ใช้รักษาตาแดง เป็นยาแก้ไอสำหรับทารก เป็นยาโป้ว (รับจากจีนฮ่อ) ยาเพิ่มพลัง ใช้คลายเครียดภายหลังการทำงาน และยังใช้ฆ่าตัวตายในกรณีที่เกิดความผิดหวังอย่างรุนแรง
๔) บทบาททางการอพยพ การตั้งถิ่นฐาน ก่อนที่จะมีโครงการการพัฒนาที่สูง ฝิ่นนับว่ามีบทบาทในการอพยพ เคลื่อนย้าย และตั้งถิ่นฐานของชาวเขามาก เพราะกลุ่มชาวเขาที่มีการปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจนั้น จะมีการโยกย้ายชุมชนอยู่เสมอเนื่องจาก ต้องแสวงหาที่อุดมสมบูรณ์เพื่อปลูกฝิ่น และฝิ่นนั้นยังสามารถเป็นทุนในการหาที่อยู่ใหม่ , เงินออม, สิทธิทางพื้นที่ และมักตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่สามารถปลูกฝิ่นได้
อ้างอิง : วิทย์ เที่ยงบูรณกรรม, ฝิ่นสู่เฮโรอีน, (แพร่พิทยา : กรุงเทพฯ, ๒๕๑๒), หน้า ๒. ยาเสพติด : ฝิ่น.[Online], accessed 15 July 2008. Available from
http://www.bangkokhealth.com/drugs_htdoc/drugs_health_detail.asp?nu... วริศรา ยาสมุทร โหลด PDF. สถาบันสำรวจพืชเสพติดฯ จากวารสาร สำนัก ปปส. สถาบันวิจัยชาวเขา, ปกิณกะชาวเขา, (เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยชาวเขา, ๒๕๓๙), หน้า ๑๖๓- ๑๗๓.